หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2556

พุทธศาสนา เป็นธรรมชาติ ที่เป็นสากล

พุทโธผู้รู้ ผู้ตื่น   วีดีโอDD    ปรึกกฏหมายฟรี สิ่งเหนือสามัญวิสัย

พุทธศาสนา  ขับเคลื่อนด้วยพุทธบริษัท ๔  ผู้ที่ขับเคลื่อนพุทธศาสนา มีดังต่อไปนี้  ๑.ภิกษุ   ๒.ภิกษุณี   ๓.อุบาสก  ๔.อุบาสิกา   พุทธศาสนาเปิดโอกาศแก่ เสรีภาพทางความคิด อย่างเต็มที่ เพื่อเข้าถึงความจริง ด้วยวิธีการแห่งปัญญาแท้จริง  ดังเช่น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ตอบข้อสงสัย ของพวก กาลามะชาวเกสปุตตนิคม เกี่ยวกับความเชื่อ  เป็นพระสูตรที่เรียกว่า กาลามะสูตร  ๑.อย่าปลงใจเชื่อ โดยการฟังตามกันมา  .อย่าปลงใจเชื่อ โดยการถือสืบๆกันมา  .อย่าปลงใจเชื่อ โดยการเล่าลือ  .อย่าปลงใจเชื่อ โดยการอ้างตำรา    ๕.อย่าปลงใจเชื่อ โดยตรรก    ๖.อย่าปลงใจเชื่อ โดยการอนุมาน   ๗.อย่าปลงใจเชื่อ โดยการคิดตรองตามแนวเหตุผล   ๘.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน   ๙.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะท่าทางน่าเชื่อ  ๑o.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะท่าทางน่าเชื่อ .....เมื่อใดท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนเองว่า สิ่งเหล่านี้ไม่เกื้อกูล ใครยึดถือปฏิบัติแล้วจะเป็นไป เพื่อความเสียหายเพื่อความทุกข์  เมื่อนั้นท่านทั้งหลายพึงละเสีย .....เมื่อใดท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนเองว่า  สิ่งเหล่านี้เป็นของเกื้อกูล ใครยึดถือปฏิบัติแล้วจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข เมื่อนั้นท่านทั้งหลายพึงถือปฏิบัติให้ถึงพร้อม...(ดูข้อมูลเพิ่มเติมในประไตรปิฎก อง.ติก.๒o/๕o๕)    ความเป็นสากล คือความจริงที่หมายถึงความจริงที่ไม่เข้าใครออกใคร ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็เป็นอย่างนั้น เป็นสากลตามธรรมชาติตามธรรมดา เช่นสิ่งมีชีวิตต้องหายใจ ต้องกินอาหาร แนวของพุทธศาสนาก็เป็นสากลแบบนี้  '' พุทธพจน์เป็นคำแสดงฐานะของพระศาสดา  ให้รู้ว่าความจริงมีอยู่ตามธรรมดาของมัน  ไม่ได้ขึ้นต่อองค์พระศาสดา  พระศาสดามีฐานะเป็นผู้ค้นพบ  และเมื่อค้นพบความจริงด้วยปัญญาแล้ว ก็มาบอกมาเปิดเผยความจริงนั้น แก่มนุษย์ทั้งหลาย เพื่อให้รู้เข้าใจความจริงนั้น  แล้วจะได้ปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายได้ถูกต้องตามความจริงนั้น  อันจะทำให้การดำเนินชีวิต และกิจการทั้งหลายของมนุษย์บังเกิดผลดีเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง ความเป็นไปของสิ่งทั้งหลาย ดำเนินไปตามกฏธรรมชาติ  ไม่มีใครที่จะมาเป็นผู้วินิจฉัยพิพากษาตัดสิน  มนุษย์เราจึงต้องรู้เข้าใจความจริงนั้น  พุทธศาสนาเปิดโอกาสแก่ทุกคนในการคิดพิจารณา และเชิญชวนให้ใช้ปัญญา พุทศาสนาจะมีท่าทีเป็นกลางๆเสนอให้พิจารณา และคิดตัดสินใจด้วยตนเอง (ดูข้อมูลเพิ่มเติม ในพระไตรปิฎก อง.ติก ๒o/๕๗๖)